รอกไฟฟ้า เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งานและไม่มีปัญหาจุกจิกในระยะยาว
รอกไฟฟ้าจะถูกคัดแยกรุ่นไปตามภาระงาน ที่เราเรียกว่า กรุ๊ป โดยเกณฑ์การคัดแยกภาระงานนั้นจะดูจากจำนวนชั่วโมงการใช้งานอย่างต่อเนื่องและน้ำหนักที่ยกขณะใช้งานซึ่งตามมาตรฐาน ISO และ FEM สมาคมขนถ่ายวัสดุแห่งสหภาพยุโรป จะกำหนดดังนี้ (โปรดดูภาพประกอบ)
1️⃣ รอกใช้งานเบา (Light)
⭐️ ใช้ยกน้ำหนักเต็มพิกัดรอก 100% ต่อเนื่อง 10% ของช้่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยกเต็ม 10 ตันอยู่ 10% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 40% ของพิกัดรอกต่อเนื่อง 40% ของช้่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 40% ของ 10 ตัน เท่ากับ 4 ตัน อยู่ 40% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 10% ของพิกัดรอกต่อเนื่อง 50% ของช้่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 10% ของ 10 ตัน เท่ากับ 1 ตัน อยู่ 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
2️⃣ รอกใช้งานปานกลาง (Medium)
⭐️ ใช้ยกน้ำหนักเต็มพิกัดรอก 100% ต่อเนื่อง 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยกเต็ม 10 ตันอยู่ 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 73% ของพิกัดรอกต่อเนื่อง 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 73% ของ 10 ตัน เท่ากับ 7.3 ตัน อยู่ 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 47% ของพิกัดรอกต่อเนื่องได้ 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 47% ของ 10 ตัน เท่ากับ 4.7 ตัน อยู่ 17% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 20% ของพิกัดรอกต่อเนื่องได้ 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 20% ของ 10 ตัน เท่ากับ 2 ตัน อยู่ 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
3️⃣ สำหรับงานหนัก (Heavy)
⭐️ ใช้ยกน้ำหนักเต็มพิกัดรอก 100% ต่อเนื่อง 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยกเต็ม 10 ตันอยู่ 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 40% ของพิกัดรอกต่อเนื่อง 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 40% ของ 10 ตัน เท่ากับ 4 ตัน อยู่ 50% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
4️⃣ สำหรับงานหนักมาก (Very Heavy)
⭐️ ใช้ยกน้ำหนักเต็มพิกัดรอก 100% ต่อเนื่อง 90% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยกเต็ม 10 ตันอยู่ 90% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
⭐️ ใช้ยกน้ำหนัก 80% ของพิกัดรอกต่อเนื่อง 10% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนด Ex. รอก 10 ตัน ยก 80% ของ 10 ตัน เท่ากับ 8 ตัน อยู่ 10% ของชั่วโมงการทำงานที่กำหนดไว้ที่กรุ๊ปรอก
กรุ๊ปรอกแยกตามมาตรฐาน และชั่วโมงการทำงานที่รองรับได้ตามแต่ละภาระงาน (โปรดดูภาพประกอบ)
1️⃣ ถ้าใช้งานแบบ Light
- กรุ๊ป ISO M3/FEM 1BM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 2 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M4/FEM 1AM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 4 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M5/FEM 2M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 8 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M6/FEM 3M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 16 ชม./วัน
2️⃣ ถ้าใช้งานแบบ Medium
- กรุ๊ป ISO M3/FEM 1BM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 1 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M4/FEM 1AM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 2 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M5/FEM 2M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 4 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M6/FEM 3M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 8 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M7/FEM 4M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 16 ชม./วัน
3️⃣ ถ้าใช้งานแบบ Heavy
- กรุ๊ป ISO M3/FEM 1BM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 0.5 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M4/FEM 1AM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 1 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M5/FEM 2M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 2 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M6/FEM 3M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 4 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M7/FEM 4M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 8 ชม./วัน
4️⃣ ถ้าใช้งานแบบ Very Heavy
- กรุ๊ป ISO M4/FEM 1AM จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 0.5 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M5/FEM 2M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 1 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M6/FEM 3M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 2 ชม./วัน
- กรุ๊ป ISO M7/FEM 4M จะรองรับชั่วโมงการทำงานสูงสุด 4 ชม./วัน
# ถ้าภาระงานมากหรือวางแผนเผื่อการใช้งานที่มากขึ้น ควรพิจารณาสเป็คของกรุ๊ปรอกที่จะเลือก และการเพิ่มกรุ๊ปรอก เช่น ใช้งานยก 10 ตัน แบบ Medium เกิน 8 ชม.ต่อวัน ใช้รอก 10 ตัน กรุ๊ป 2M อาจจะเกินภาระก็ต้องเพิ่มกรุ๊ปเป็น 3M ซึ่งอาจจะราคาสูงไปในบางยี่ห้อ ให้ลองเพิ่มขนาดพิกัดยกของรอกแต่กรุ๊ปเดิมรอก 15 ตัน กรุ๊ป 2M แทนเพื่อไปยก 10 ตัน จะทำให้ลดภาระงานจากแบบ Medium เป็นแบบ Light ก็จะเพิ่มชั่งโมงการทำงานของรอกได้
⭐️ กรุ๊ปรอกแต่ละกรุ๊ปที่แตกต่างกันจะขึ้นอยู่กับสมรรถนะของเกียร์และชนิดมอเตอร์ ยิ่งใช้งานหนักเกรดวัสดุและแรงทดเกียร์ต้องสูง และมอเตอร์ต้องชนิดมีชนวนทนความร้อนได้สูง ไม่เช่นนั้นจะเจอปัญหาตามมา อาทิ
❌ มอเตอร์ไหม้ ไม่ก็เบรกไหม้ เพราะใช้งานหนักเกินกรุ๊ปรอก มอเตอร์ร้อนสะสมไหม้ และทำให้เบรกที่อยู่กับมอเตอร์ไหม้ด้วย
❌ น้ำมันเกียร์รั่วซึม ซีลเสื่อมสภาพเร็ว เพราะใช้งานตลอดเวลาจนเกิดความร้อนสะสมจากมอเตอร์ไปที่ห้องเกียร์จนน้ำมันเดือดทำให้ซีลยางเจอความร้อนจึงเสื่อมสภาพก่อนอายุ
❌ เกียร์และลูกปืนนั้นสัมพันธ์กัน ยิ่งใช้งานหนักลูกปืนต้องรับแรงและรอบหมุนได้มาก แต่ถ้าเลือกกรุ๊ปเบาแต่มาใช้งานหนัก ลูกปืนรับแรงโอเวอร์และเกินสเป็ครอบหมุนจึงเสื่อมสภาพแตกทำให้เกียร์เสียศูนย์ทำงานเกินกำลังเริ่มสึกและเสียงดัง เกียร์รูด ร้าวแตกหัก อันตรายมาก
จิรายุ เอี่ยมสมร
บจก.โททัล เมคคานิค
บจก.ไทรทัน เมคคานิค
www.ttmcrane.com
www.cmak-thailand.com